ตำนานเมืองคล้องช้าง น้ำยางพันธุ์ดี มากมีผลไม้ พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์
Chang central theme.
Good Rubber Sap
Chang central theme.
Good Rubber Sap
Lotsof Fruits
Sacred Tan Klai
Sacred Tan Klai
ประวัติ โดยย่อ
ชื่อช้างกลาง
นั้นูเคียงกับ ช้างซ้าย และช้างขวา ในประวัติศาสตร์ อำเภอช้างกลาง(ชาลี ศิลปะรัศมี
อดีตข้าราชการครู อ.3 ระดับ 9 ผู้ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์พื้นบ้าน )
กล่าวถึงที่มาของชื่อนี้ในประวัติศาสตร์โบราณคดีว่าดังนี้ การยกทัพด้วยพล 17 หมื่น
ของพระเจ้าสุชิตราชแห่งตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ไปตีอาณาจักรละโว้ เมื่อ
พ.ศ.1570 ย่อมแสดงว่านครศรีธรรมราช
ได้ใช้กองทัพช้างตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและช้างป่าที่จับมาฝึกเป็นช้างศึกหรือใช้ในราชการ
หรือช้างเผือกที่ส่งมาบรรณาการกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปจากป่าเขาหลวงแถบเขาพระสุเมรุหรือเขาเหมน ทุ่งสง
ฉวาง นาบอน ทุ่งใหญ่
ถ้าพรรณรา ลำพูล (พระแสง) นั้นเอง
ช้างที่จับได้ฝึกหัดแล้ว จะจัดส่งเข้ากรมช้างถึง 3 กรม
คือ
1. กรมช้างขวา
ตั้งอยู่ที่เวียงสระสำหรับควบคุมช้างที่จับได้แถบลำพูล
และควบคุมพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำตาปี บริเวณปากแม่น้ำ ซึ่งขณะนั้นจังหวัดสุราษฎร์ธานียังไม่มี มีแต่ไชยาเเก่า
ที่บ้านดอนสุราษฎร์ธานีเพิ่งตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2456
2.กรมช้างกลาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลช้างกลาง
เพื่อควบคุมช้างที่จับได้แถบป่าฉวางทุ่งใหญ่
นาบอน ทุ่งสง และกรมช้างกลางจะควบคุมพื้นที่ 4
หัวเมืองอันเป็นบริเวณยุทธศาสตร์ ด้านตะวันตกของเมืองนครศรีธรรมราช คือ
หัวเมืองพิปูน หัวเมืองกะเปียด หัวเมืองละอาย และหัวเมืองหลักช้างโดยกรมช้างกลางนี้
เป็นกำลังหลักของกองทัพช้างของ นครศรีธรรมราช มาเป็นเวลายาวนาน
3. กรมช้างซ้าย ตั้งอยู่ตำบลช้างซ้าย ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอพระพรหมสำหรับพักช้าง
ที่ใช้ในตัวเมืองรักษาพระนคร
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอช้างกลางตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอฉวาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลานสกา
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทุ่งสงและอำเภอนาบอน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอฉวาง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอช้างกลางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3
ตำบล 36 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ช้างกลาง (Chang
Klang) 17
หมู่บ้าน
2. หลักช้าง (Lak
Chang) 10 หมู่บ้าน
3. สวนขัน (Suan
Khan) 9 หมู่บ้าน
แหล่งท่องเที่ยว
หมู่ที่ 14 ตำบลช้างกลาง
สามารถเดินทางจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปตามเส้นทางสายนครศรีธรรมราช-จันดี-ฉวาง-บ้านส้อง
(ทางหลวงหมายเลข 4015) 36 กม. และมีทางแยกขวามือ มีป้ายบอกทางเข้าน้ำตกท่าแพประมาณ
2 กม. น้ำตกท่าแพมี 10 ชั้น ชั้นที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำได้ คือ หนานแพน้อย
หนานนางครวญ และหนานเตย
2.น้ำตกสวนขัน
2.น้ำตกสวนขัน
อยู่หมู่ที่ 3 ตำบลสวนขัน
สามารถเดินทางจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ไปตามเส้นทางสายนครศรีธรรมราช-ลานสกา-จันดี
(ทางหลวงหมายเลข 4015) ระยะทาง 55 กม. และต่อรถโดยสารประจำทางสายจันดี-พิปูน
ระยะทาง 4 กม.
บริเวณรอบน้ำตกยังเป็นป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์สวยงามเหมาะแก่การเดินป่า ชมธรรมชาติ
ศึกษาพันธุ์ไม้
3.วัดธาตุน้อย
วัดธาตุน้อย หรือ วัดพระธาตุน้อย
อีกหนึ่งศาสนสถานที่มีความสำคัญและยังเป็นที่ตั้งของเจดีย์พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์
โดยวัดนั้นตั้งอยู่ในเขตตำบลหลักช้าง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตั้งขึ้นโดยความประสงค์ของพ่อท่านคล้าย (พระครูพิศิษฐ์อรรถการ) พระเกจิอาจารย์ที่ชาวใต้เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงยิ่งรูปหนึ่ง
วัดธาตุน้อยมีเนื้อที่ 46 ไร่ สร้างขึ้นบนที่ดินซึ่งนายกลังพร้อม
ถวายแด่พ่อท่านคล้าย ท่านจึงได้สร้างพระธาตุน้อยขึ้นใน ปี 2504
ปัจจุบันสรีระพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ประดิษฐ์ฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ ณ
สถานที่นี้ จึงเป็นเจดีย์อนุสรณ์สถานพ่อท่านคล้ายอีกด้วย
สังขารพ่อท่านคล้ายซึ่งว่ากันว่าแข็งเป็นหิน
ที่บ้านนับถือและศรัทธาด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาสักการบูกันมากยิ่งขึ้น
4.วัดมะนาวหวาน
วัดมะนาวหวาน
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๖ หมู่ที่ ๔
ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรงหลักกิโลเมตรที่
๓๖ ทางหลวง
ที่น่าสนใจ คือ
งก่อสร้างเก่าแก่ที่ปรากฏและเป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำวัดมะนาวหวาน คือ
พระเจดีย์สองพี่น้อง
ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำจันดี
หน้าอุโบสถ
ระยะห่างกันระหว่างองค์เจดีประมาณ
๖.๕๐ เมตร ลักษณะสถูปเจดีย์ก่อสร้างด้วยอิฐขนาดใหญ่
แต่ปรักหักพังลงตามกาลเวลาคงเหลือเป็นซากฐานและองค์เจดีย์ไม่มียอด มีวัชพืชปกคลุมอยู่รอบๆ
ประชาชนศรัทธาเชื่อกันว่า เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุอนุสรณ์ท่าน “สมภารอิน -
สมภารจัน” เจ้าอาวาสสองรูปที่เป็นพี่น้องกัน
ผู้สร้างและบำรุงรักษาวัดมะนาวหวานมาแต่อดีต ปัจจุบันพระเจดีย์สองพี่น้อง
ได้รับการบูรณะตามราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ตรัสถามเจ้าอาวาสเป็นเชิงแสดงพระราชประสงค์ว่า “จะบูรณะหรือไม่”
การบูรณะ
เริ่มจากการสำรวจ การขุดเรื้อ
ออกแบบ และดำเนินการก่อสร้าง เสร็จสิ้นในปี
๒๕๓๕
และอัญเชิญอัฐิธาตุพร้อมของมีค่าบรรจุคืน
เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม
๒๕๓๗
5.เขาเหมนรีสอท
ตั้งอยู่ที่ 147 หมู่ 10 ตำบลช้างกลาง
อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มเลี้ยงผึ้งควนส้าน
เป็นกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทยจำนวนประมาณ 200
รัง
โดยเลี้ยงในสวนผลไม้เป็นการเพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยการขายน้ำผึ้งและยังมีผลพลอยได้จากการให้ผึ้งเป็นตัวผสมเกษตรดอกไม้
ช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง นอกจากการจำหน่ายน้ำผึ้งแล้ว
ทางกลุ่มยังผลิตอุปกรณ์เลี้ยงผึ้งจำหน่ายแก่เกษตรกรและผู้สนใจอีกด้วย
การเดินทางใช้เส้นทาง 4015 และแยกขวาที่กิโลเมตร 35 - 36 เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร
ถึงหน้าวัดควนส้านเลี้ยวขวาตรงทางแยกตรงข้ามกับประตูวัด เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร
เป็นถนนลูกรังผ่านสวนยางพาราและข้ามสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายอีก 200 เมตร
ถึงที่ทำการกลุ่มติดต่อที่ ศูนย์ส่งเสริมท่องเที่ยวเกษตรช้างกลาง โทรศัพท์
0-7548-6616 / 0-1124-3214
การติดต่อสวนเกษตรกรในสถานที่ต่างๆ
ติดต่อโดยตรงได้ที่แหล่งท่องเที่ยวหรือติดต่อผ่านศูนย์ส่งเสริมท่องเที่ยวเกษตรช้างกลาง
ที่หมายเลข 0-7548-6616 / 0-1124-3214
อ้าง อิง http://www.thai-tour.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น